เช็คอาการ ภาวะไหล่ห่อ คอยื่น รีบรักษาก่อนสายเกินไป

Last updated: 27 ก.พ. 2567  |  235 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไหล่ห่อ คอยื่น กระดูกคอเสื่อม

ภาวะไหล่ห่อ คอยื่น หรือ upper cross syndrome เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อโครงร่างส่วนบนทำงานไม่สมดุลกัน กล้ามเนื้อบางมัดตึงมากจนหดสั้น บางมัดอ่อนแรงเกินไป ส่งผลให้โครงสร้างร่างกายภายนอกเปลี่ยนแปลงไป โดยอาการที่พบส่วนใหญ่จะปวดคอ บ่า ไหล่ ศีรษะ มีอาการชาตามแขน ร่วมกับอ่อนเพลียและหายใจลำบาก

ลักษณะภายนอกที่สั่งเกตได้ คือ

  ศีรษะและคอ ยื่นไปด้านหน้า
  ไหล่ห่อ ไหล่โค้งมน
  หลังค่อม
  หน้าอกยุบ

หากอยู่ในท่าทางเหล่านี้จนเคยชิน ยิ่งนานไปจะทำให้ปรับท่าทางในลักษณะที่ถูกต้องได้ยาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออื่นๆ ได้

  สาเหตุของภาวะไหล่ห่อคอยื่น นอกเหนือจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และความผิดปกติของโครงสร้างร่ายกายที่ไม่สมดุลกันแล้ว ยังเกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เช่น การนั่งทำงานเป็นเวลานาน การก้มเล่นโทรศัพท์ การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม ก้มตัว หรือโน้มตัวซ้ำๆ 

  อันตรายจากภาวะไหล่ห่อ คอยื่น ที่เราไม่ควรปล่อยไว้นาน มีดังนี้

  มีอาการปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ แขนชา และอ่อนเพลียอยู่เรื่อยๆ
  โครงสร้างของร่ายกายและกระดูกที่เปลี่ยนไป เช่น กระดูกสันหลังคต กระดูกอกยุบ หรือไหล่เอียง เป็นต้น
  ระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ จากการที่หน้าอบยุบทำให้ความจุของปอดลดลง หายใจได้ลำบาก
  ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันลดลง รวมถึงขาดดความมั่นใจในการใช้ชีวิตจากการที่บุคลิกภาพไม่ดี

หากมีภาวะไหล่ห่อ-คอยื่น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม 

ที่รีเฟรชชี่ คลินิก สามารถรักษาอาการได้หลายศาสตร์การรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มตรวจวินิจฉัยจากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย กล้ามเนื้อเบื้องต้น จากนั้นเริ่มวางแผนการรักษาอาการให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล โดยสามารถรักษาได้โดย

  กายภาพบำบัด รักษาระบบกล้ามเนื้อ ข้อ กระดูก เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น ใช้เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก หรือ PMS เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณจุดกดเจ็บ และเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่องเลเซอร์ เครื่อง Shockwave หรือเครื่องอัลตราซาวด์ ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละท่าน) 
  แพทย์แผนไทย ที่มีทั้งการใช้ทั้งหัตถเวชศาสตร์ เภสัชเวชศาสตร์ในการรักษา เพื่อรักษาอาการตามหลักกายวิภาค ด้วยการนวดกดจุดรักษาตามแนวกล้ามเนื้อและจุดสัญญาณ พร้อมทั้งแช่มือสมุนไพรคลายกล้ามเนื้อ
  แพทย์แผนจีน เน้นปรับสมดุลในร่างกายให้เลือดลมไหลเวียนดียิ่งขึ้น ด้วยการฝังเข็มสลายปมจุดปวด และครอบแก้ว เดินแก้ว รมยา นวดทุยหนา เป็นต้น



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้