กินไก่เยอะ เสี่ยงเป็นเก๊าท์ จริงหรือไม่?

Last updated: 9 ก.พ. 2567  |  91 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กินไก่เยอะ เสี่ยงเป็นเก๊าท์ จริงหรือไม่?

โรคเก๊าท์ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริก ในรูปแบบผลึกยูเรตในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของข้อหรือเนื้อเยื่อรอบข้อ หรือเกิดปุ่มก้อนของผลึกยูเรตภายในข้อและใต้ชั้นผิวหนังรอบๆ ข้อ ถ้าเป็นมากทำให้เกิดนิ่วในไตร่วมด้วย

  อาการของโรคเก๊าท์  
  ปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งเป็นข้อที่พบบ่อยสุด โดยมากปวดข้อเดียวแต่ก็ปวดหลายข้อได้
  อาการของเก๊าท์ปวดเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง
  ข้อที่ปวดเก๊าท์พบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก
  มักปวดตอนกลางคืน อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ การรับประทานอาหารที่มียูริกสูง ดื่มสุรา หรือความเครียด

  สาเหตุของโรคเก๊าท์  
เกิดจากความผิดปกติของการสะสมกรดยูริค (Uric acid) ในร่างกาย กรดยูริคได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิด เช่น เครื่องในสัตว์ กุ้ง หอย ปลาอินทรีย์ เนื้อแดง กะปิ ชะอม กระถิน หน่อไม้ ดอกกะหล่ำ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยปกติพิวรีนจะถูกย่อยและกลายเป็นกรดยูริค การสะสมของกรดยูริคทำให้เกิด อาการปวดรุนแรง ในกระดูกและรอบๆ ข้อกระดูก

เพราะฉะนั้นการทานไก่ที่มีปริมาณกรดยูริกต่ำ จึงไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเก๊าท์ เพราะฉะนั้นเราสามารถทานไก่ได้ แต่ต้องควบคุมปริมาณโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเก๊าท์อยู่แล้ว

หากมีอาการโรคเก๊าท์สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการอักเสบในข้อ ด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ หรือเครื่องเลเซอร์กำลังสูง รวมถึงการรักษาร่วมกันกับการนวดกดจุดโดยแพทย์แผนไทย และการฝังเข็มรักษาโดยแพทย์แผนจีน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้