แชร์

เช็ค 3 จุดปวดคอบ่าไหล่ยอดฮิต ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

อัพเดทล่าสุด: 25 มี.ค. 2025
97 ผู้เข้าชม

ชาวออฟฟิศส่วนใหญ่ มักจะหนีไม่พ้นอาการปวดคอ บ่า ไหล่ รู้ไหม 80% ของคนทำงานออฟฟิศเคยมีอาการนี้
เพราะต้องนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ อาการเหล่านี้เลยเรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

Office Syndrome คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด มาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ และอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง

  ปวดศีรษะ
  ปวดตา ตาพร่า
  ปวดข้อมือ มือชา นิ้วล็อค
  ปวดตึงที่ขา เหน็บชา
  ปวดหลัง
  ปวดคอ บ่า ไหล่

เรามาลองดู 3 สาเหตุหลักของอาการปวดคอ บ่า ไหล่กัน

1.ปวดตึงคอ บ่า ไหล่
เกิดจากใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ อยู่ท่าเดิมนานๆทั้งวัน 

2.ปวดแปล๊บ ร้าวลงแขน
เกิดจากการกดทับเส้นประสาท เช่น ภาวะหมอนรองคอเสื่อมทับเส้นประสาท

3.ปวดเรื้อรัง หรือปวดเวลาเคลื่อนไหว
เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เช่น ไหล่ติด หรือบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป

กล้ามเนื้อที่มักมีปัญหา ตามตำแหน่ง 3 จุด ปวดคอ บ่า ไหล่

1. Trapezius
อาการปวดตึงบริเวณคอและหลังส่วนบน อาจส่งผลให้ปวดร้าว ไปที่ต้นคอด้านหลัง ศีรษะบริเวณท้ายทอย ร้าวมาขมับได้

2. Levator Scapulae
มักจะมีอาการปวดตึงบริเวณคอ บ่าและสะบัก มักทำให้คอแข็ง เคลื่อนไหวคอได้จำกัด

3. Rhomboids
อาการปวดระหว่างสะบักและกระดูกสันหลัง อาจมีอาการ ปวดร้าวถึงต้นคอหรือร้าวลงแขนได้

 

ใครที่มีอาการปวดเรื้อรังมานาน รีเฟรชชี่แนะนำ 3 ขั้นตอน รักษาออฟฟิศซินโดรม ที่รีเฟรชซี่ คลินิก


 STEP 1 กายภาพบำบัด เครื่อง PMS ลดอาการปวดด้วยคลื่นกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

 STEP 2 นวดกดจุด โดยแพทย์แผนไทย แม่นยำ ตรงจุด โดยแพทย์แผนไทย แม่นยำ ตรงจุด

 STEP 3 ฝังเข็มรักษา ปรับสมดุลและเพิ่มการไหลเวียนเลือดในร่างกาย 


บทความที่เกี่ยวข้อง
อาการเข่าเสื่อม การรักษา ป้องกัน
ใครที่มีอาการปวดเข่า เข่าลั่น หรือเวลาที่ลงน้ำหนักแล้วเจ็บเคืองในเข่า คุณอาจกำลังมีสัญญานของเข่าเสื่อม
28 มี.ค. 2025
ปวดบ่า ปวดสะบัก สะบักจมรักษาอย่างไร
อาการสะบักจม พบได้บ่อยในวัยทำงาน มักจะเกิดควบคู่กับออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ปวดกล้ามเนื้อบ่า ต้นคอ และหลัง อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย เราจึงอยากให้ทุกท่านมารู้จักสาเหตุ การตรวจเช็คอาการและดูแนวทางการรักษากันค่ะ
25 มี.ค. 2025
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น อาการปวดหลังเรื้อรัง ชาร้าว รุนแรงจนอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากปล่อยไว้อาจเดินลำบาก ใช้ชีวิตยากจนต้องผ่าตัด
28 มี.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy