แชร์

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง รีบรักษาก่อนต้องผ่าตัด

อัพเดทล่าสุด: 28 มี.ค. 2025
278 ผู้เข้าชม

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตวัยทำงาน !!

-รีบรักษาก่อนต้องผ่าตัด-



โรคหมอนรองกระดูก มักจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ชาร้าวและรุนแรงจนอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากปล่อยไว้นานอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง หรือทำกิจวัตรประจำวันได้


#เช็คอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

️⚠️️ปวดหลังส่วนล่าง : รู้สึกปวดเรื้อรังหรือปวดร้าวไปที่ขา
️⚠️ชาขาหรือเท้า : มีอาการชาหรือรู้สึกเหมือนมีเข็มแทงบริเวณขา
⚠️️อ่อนแรงที่ขา : ขาไม่มีแรง เดินหรือยืนได้ลำบาก
️⚠️ปวดร้าวลงขา : อาการปวดมักจะร้าวจากหลังลงไปที่ก้น ขา หรือเท้า
️⚠️กล้ามเนื้อเกร็ง : กล้ามเนื้อบริเวณหลัง และขารู้สึกเกร็งผิดปกติ

Q : ทำไมหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่งผลต่อการเดิน?

หมอนรองกระดูกที่ทับเส้นประสาทจะทำให้การส่งสัญญาณประสาทจากสมอง ไปยังกล้ามเนื้อขาถูกขัดขวาเนื่องจาก เส้นประสาทไขสันหลังเป็นตัวเชื่อมระหว่างสมองกับกล้ามเนื้อในร่างกาย เมื่อหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาทการสื่อสารระหว่างสมองและกล้ามเนื้อที่ขาหรือเท้าจะไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้

  • กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ทำให้เดินลำบาก ก้าวสั้นขึ้น

     

  • ควบคุมการเคลื่อนไหวได้ไม่ดี เดินทรงตัวลำบาก

     

  • รู้สึกชาหรือเจ็บปวด จนไม่สามารถก้าวเดินได้ปกติ


การเดินลำบากและทรงตัวไม่ดีจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ไม่ได้เกิดจากแค่ความเจ็บปวด แต่เป็นผลกระทบที่ซับซ้อนของระบบประสาท
และกล้ามเนื้อที่ทำงานผิดปกติ #หากปล่อยไว้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น

  • ️ภาวะกล้ามเนื้อลีบ : กล้ามเนื้อขาเล็กลงจากการใช้งานน้อย
  • อัมพาตบางส่วน : เส้นประสาทเสียหายจนทำให้ขาใช้งานไม่ได้
  • คุณภาพชีวิตลดลง : ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้สะดวก


ระดับความรุนแรงของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ระยะแรก
หมอนรองกระดูกเริ่มเสื่อม จะทำให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ และจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

ระยะปานกลาง
เป็นระยะที่หมอนรองกระดูกเริ่มเคลื่อน หรือปลิ้นออกมากดเบียดเส้นประสาท จนเกิดปวดร้าว รวมถึงอาจมีอาการชาร่วมด้วย

ระยะรุนแรง
เมื่อการกดทับเส้นประสาทรุนแรงขึ้น อาการปวด ชาและอ่อนแรงมากขึ้น จนเส้นประสาทเกิดการบาดเจ็บ และเสี่ยงต่อความพิการได้

  ซึ่งเกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังจนเสื่อมสภาพ ก้มๆเงยๆ ยกของหนักบ่อยๆ ขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือนั่งทำงานเป็นเวลานานติดต่อกัน

  ดังนั้น หากมีอาการปวดหลังบ่อย ควรตรวจและรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ เพื่อหาแนวทางการรักษาโดยเร็วที่สุด การรักษาก็สามารถทำได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป

 

 

 

คลิ๊กดูท่ายืดสำหรับอาการหมอนรองกระดูกทับเส้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
อาการเข่าเสื่อม การรักษา ป้องกัน
ใครที่มีอาการปวดเข่า เข่าลั่น หรือเวลาที่ลงน้ำหนักแล้วเจ็บเคืองในเข่า คุณอาจกำลังมีสัญญานของเข่าเสื่อม
28 มี.ค. 2025
ปวดบ่า ปวดสะบัก สะบักจมรักษาอย่างไร
อาการสะบักจม พบได้บ่อยในวัยทำงาน มักจะเกิดควบคู่กับออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ปวดกล้ามเนื้อบ่า ต้นคอ และหลัง อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย เราจึงอยากให้ทุกท่านมารู้จักสาเหตุ การตรวจเช็คอาการและดูแนวทางการรักษากันค่ะ
25 มี.ค. 2025
ท่าบริหารไหล่ติด
ภาวะข้อไหล่ติด เกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ บวม และหนาตัวขึ้น จะมีอาการเจ็บหรือปวด ขณะเคลื่อนไหวหัวไหล่ และปวดมากขึ้น เมื่อพยายามยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ เราจึงขอมอบท่าบริหารคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวไปด้วยกันนะคะ จะได้กลับมาเคลื่อนไหวแขนเราได้ดีขึ้น
28 มี.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy