แชร์

ปวดหลังบ่อยอย่ามองข้าม! อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่คุณคาดไม่ถึง รู้ทันอาการก่อนสายเกินแก้ พร้อมวิธีดูแลและรักษาแบบผสมผสาน

อัพเดทล่าสุด: 16 มี.ค. 2025
435 ผู้เข้าชม

ปวดหลังบ่อยอย่ามองข้าม! อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่คุณคาดไม่ถึง

รู้ทันอาการก่อนสายเกินแก้ พร้อมวิธีดูแลและรักษาแบบผสมผสาน

ที่ Refreshy Clinic ช่วยปลดล็อกอาการปวด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


มาสังเกตอาการปวดหลังที่เป็นอยู่ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร? และคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคใดบ้าง?
เพื่อให้คุณป้องกัน และดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง



ปวดหลังร้าวลงขา รู้สึกชา หรือเหมือนไฟช็อตบริเวณสะโพก
#หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากหมอนรองกระดูกเสื่อม
หรือเคลื่อนมากดทับเส้นประสาท
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และนั่งท่าที่หลังโค้งเป็นเวลานาน

ปวดหลังรุนแรง ปวดมากขึ้นเวลาเคลื่อนไหว มีอาการชาร่วมด้วย
#หมอนรองกระดูกปลิ้น เกิดจากแรงกดทับ หรือบิด
ที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสียหาย
หลีกเลี่ยงการนั่งนาน และระวังการบิดตัวอย่างรุนแรง

ปวดหลังเฉียบพลัน ปวดหลังร้าวลงขา ขยับตัวลำบาก
#หมอนรองกระดูกเคลื่อน เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ อาจมีการรบกวนเส้นประสาท
หลีกเลี่ยงการออกแรงผิดท่า และใช้ท่าทางในชีวิตประจำวันในท่าที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

ปวดหลังเรื้อรัง กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ปวดเมื่อเคลื่อนไหว หรือทำอะไรนานๆ
#กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป หรือยู่ในท่าเดิมนานๆ
เช่น การนั่งทำงาน หรือขับรถนาน ๆ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน เช่น ขยับร่างกายบ่อย ๆ ใช้อุปกรณ์รองหลัง ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

ปวดหลังลามไปสะโพกและขา รู้สึกยึดและตึงบริเวณหลัง เคลื่อนไหวลำบาก
#กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลังตามวัย
หลีกเลี่ยงการยืดนาน ๆ เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อหลัง และรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

วิธีดูแลเบื้องต้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • ออกกำลังกายเบาๆ เช่น ทำท่ายืดง่าย ๆ ทุกวัน โยคะหรือพีลาทิส เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
  • ปรับท่าทางและพฤติกรรม เช่น ขยับร่างกายบ่อย ๆ ใช้หมอนรองหลังเวลานั่ง และหลีกเลี่ยงการนอนบนที่แข็งหรือนุ่มเกินไป
  • จัดโต๊ะทำงาน ท่านั่งทำงานอย่างถูกวิธี

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ให้กล้ามเนื้อและกระดูกได้ฟื้นฟู หรือหาตัวช่วยในการดูแล เช่น ทำกายภาพบำบัด นวดกดจุดรักษา หรือฝังเข็มรักษา

  • พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง

    • การนั่งนานๆ หรือนั่งผิดท่า การนั่งไม่เต็มก้น กล้ามเนื้อหลังจะทำงานหนักในการแบกรับน้ำหนักตัวจะมีอาการปวดตั้งแต่ต้น คอสะบัก กลางหลัง ปวดหลังส่วนล่าง

    • การยืนนานๆ หรือ ยืนพักขาข้างเดียว การยืนเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อจะเกิดการเกร็ง และการยืนในท่าพักขานั้น ทำให้ร่างกายแบกรับน้ำหนักอยู่ด้านเดียว สะโพกจะเอียง กระดูกสันหลังก็โค้งตามไปด้วย ทำให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง

    • การเอี้ยวตัวเก็บของ การเอี้ยวแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้เราปวดหลังได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยน
      พฤติกรรมจะเสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกปลิ้นอีกด้วย

    • การนอนขดตัว หรือ ที่นอนไม่เหมาะสม การนอนท่าเดิมนาน ๆ หรือ การนอนขดตัว อาจเกิดผลเสียต่อกระดูกสันหลังโค้งงอ ที่นอนแข็งหรือนุ่มจนเกินส่งผลให้ไม่รับตามสรีระร่างกาย ทำให้ปวดเมื่อยตัวและปวดหลังเมื่อตื่น

ใครที่มีปัญหาปวดหลังเรื้อรัง ไม่ต้องทนกับอาการปวดอีกต่อไป มาลดอาการปวดกัน รีเฟรชชี่ คลินิก พร้อมให้บริการดูแลแบบครบวงจ  ตรวจเช็คและรักษาให้ตรงจุด ปรึกษา รีเฟรชชี่ คลินิกกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย
 

 

 

 


ต้องการปรึกษาเพิ่มเติม เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับท่าน เข้ามาได้ที่ Refreshy Clinic

Line@ : @refreshy (มี @ ด้วย)


รีเฟรชชี่ มี 3 สาขา
#สาขาขอนแก่น หมู่บ้านเซ็นทาร่าซิตี้ ถนนชาตะผดุง ข้างโรงเรียนมหาไถ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทร : 090-957-0475 สาขาขอนแก่น
เปิด 9:00 - 20:00 น.
หยุดทุกวันอังคาร

#สาขาอุดรธานี โครงการ Prime Square ตรงข้าม UD Town เยื้องกับ ศาลเจ้าปู่ย่า
โทร : 083-998-0475 สาขาอุดรธานี
เปิด 9:00 - 20:00 น.
หยุดทุกวันอังคาร

#สาขาทองหล่อ ศูนย์การค้า Fifty fifth ThongLor ชั้น 1 ทองหล่อ ซอย 2
โทร : 086-349-6425 สาขาทองหล่อ
เปิด 10:00 - 21:00 น.
หยุดทุกวันศุกร์


บทความที่เกี่ยวข้อง
อาการเข่าเสื่อม การรักษา ป้องกัน
ใครที่มีอาการปวดเข่า เข่าลั่น หรือเวลาที่ลงน้ำหนักแล้วเจ็บเคืองในเข่า คุณอาจกำลังมีสัญญานของเข่าเสื่อม
28 มี.ค. 2025
ปวดบ่า ปวดสะบัก สะบักจมรักษาอย่างไร
อาการสะบักจม พบได้บ่อยในวัยทำงาน มักจะเกิดควบคู่กับออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ปวดกล้ามเนื้อบ่า ต้นคอ และหลัง อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย เราจึงอยากให้ทุกท่านมารู้จักสาเหตุ การตรวจเช็คอาการและดูแนวทางการรักษากันค่ะ
25 มี.ค. 2025
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น อาการปวดหลังเรื้อรัง ชาร้าว รุนแรงจนอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากปล่อยไว้อาจเดินลำบาก ใช้ชีวิตยากจนต้องผ่าตัด
28 มี.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy