ปวดบ่าร้าวลงสะบัก ใช่อาการของสะบักจมหรือไม่ รักษาได้อย่างไร

Last updated: 6 Feb 2023  |  2863 Views  | 

ปวดบ่าร้าวลงสะบัก ใช่อาการของสะบักจมหรือไม่ รักษาได้อย่างไร

ปวดบ่าร้าวลงสะบักบ่อยๆ ใช่อาการของสะบักจมหรือไม่ รักษาได้อย่างไร???

 

อาการสะบักจม เป็นอาการที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน มักจะเกิดควบคู่กับออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ปวดกล้ามเนื้อบ่า ต้นคอ และหลัง ส่วนใหญ่จะมีอาการเริ่มต้นคือ ตึงบ่า ต้นคอ หรืออาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อในบริเวณเดียวกัน หรืออาจมีอาการขัดเมื่อยกแขนหรือหมุนหัวไหล่ หมุนคอได้ไม่เต็มที่ มีอาการปวดเสียวลงสะบักเมื่อเคลื่อนไหว


 สาเหตุของอาการสะบักจม

  นั่งทำงานด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

  ยกของหนัก

  การออกกำลังกายผิดจังหวะ

 

วิธีแก้อาการปวดบ่าร้าวลงสะบักด้วยตนเอง

  ปรับพฤติกรรมการนั่งทำงาน

  พยายามนั่งทำงานให้หลังตรง

  ปรับระดับเก้าอี้ และโต๊ะทำงานให้เหมาะสม

  ไม่ก้มตัวไปข้างหน้า

  ไม่เกร็งข้อศอกและแขนมากเกินไป

 

การรักษาสะบักจมแบบแพทย์แผนไทย

สะบักจมสามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งยา คือ การนวดแบบราชสำนัก วิธีการคือผู้นวดจะใช้นิ้วหัวแม่มือกดตามจุดแนวเส้นพื้นฐานโค้งคอและบ่า จากนั้นจะค่อยๆ นวดไล่ลงมาตามแนวกระดูกสันหลัง จนถึงแนวขอบกระดูกสะบัก เพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ สะบัก


เมื่อกล้ามเนื้อที่เกร็งอยู่คลายตัวขึ้น การเคลื่อนไหวรอบสะบักและหัวไหล่ก็จะดีขึ้น องศาของการยกแขนกว้างขึ้น อาจใช้วิธีการดึงเส้นสะบักที่จมร่วมด้วยก็ได้

 

หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาหรือไม่มีการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธี จะส่งผลให้มีอาการชาปลายนิ้วมือ ฝ่ามืออ่อนแรง หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด นอกจากนี้หากมีอาการปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับหรือหากมีความกังวล อยากแก้ปัญหาอาการปวดบ่าสะบัก อาการสะบักจม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  and  นโยบายคุกกี้