อันตรายจากอาการไหล่ติด ที่ไม่ควรมองข้าม

Last updated: 19 Jan 2024  |  260 Views  | 

อันตรายจากอาการไหล่ติด ที่ไม่ควรมองข้าม

อาการไหล่ติด เกิดจากการอักเสบหรือบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นรอบๆหัวไหล่ เมื่อเกิดการบาดเจ็บจะทำให้จำกัดการเคลื่อนไหว และเกิดการซ่อมแซมของเส้นเอ็นใหม่จนเกิดเป็นผังผืดรอบๆข้อไหล่ และเกิดการยึดรั้งตามมา ส่งผลให้การเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง อาการไหล่ติดมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไป มักมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่และไหล่ตอนกลางคืน ปวดมากขึ้นเมื่อขยับแขน ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะไม่ได้ เคลื่อนไหวแขนลำบาก รู้สึกตึงรั้งกล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่จนถึงต้นคอ

  สาเหตุการเกิดอาการไหล่ติด   อาจเกิดจาก 

  การใช้งานข้อไหล่อย่างหนักหรือซ้ำๆ เช่น การยกของหนัก เล่นกีฬาประเภทที่ต้องใช้แขนเยอะ
  ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่ เช่น กระดูกหัก เอ็นฉีกขาด
  โรคข้อกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม
  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  โรคเบาหวาน
  โรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ 

  อาการไหล่ติดอาจก่อให้เกิดอันตราย  

  ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ภาวะไหล่ติดทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ตามปกติ ส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้แขนได้ เช่น การอาบน้ำ การแปรงฟัน การใส่เสื้อผ้า การรับประทานอาหาร การถอดเสื้อผ้า การขับรถ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน
  อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน หากภาวะไหล่ติดไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ลีบลง เส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบเรื้อรัง เส้นประสาทบริเวณข้อไหล่ถูกกดทับ ส่งผลให้มีอาการชาหรืออ่อนแรงบริเวณแขนหรือมือ
  อาจทำให้ข้อไหล่เสื่อมเร็วขึ้น ภาวะไหล่ติดส่งผลให้ข้อไหล่มีการอักเสบและเสียดสีกันมากขึ้น ส่งผลให้ข้อไหล่เสื่อมเร็วขึ้น
  อาจทำให้ข้อไหล่ติดถาวร หากภาวะไหล่ติดไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเป็นเวลานาน อาจทำให้ข้อไหล่ติดถาวร ส่งผลให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ตามปกติ

  วิธีป้องกันอาการไหล่ติดเบื้องต้น  


  หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อไหล่อย่างหนักหรือซ้ำๆ
  ออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่เป็นประจำ
  ปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงานหรือเล่นกีฬาให้ถูกต้อง

หากมีอาการไหล่ติดควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม 

ที่รีเฟรชชี่ คลินิก สามารถรักษาอาการได้หลายศาสตร์การรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มตรวจวินิจฉัยจากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย กล้ามเนื้อเบื้องต้น จากนั้นเริ่มวางแผนการรักษาอาการให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล โดยสามารถรักษาได้โดยการทำกายภาพบำบัดใช้เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก หรือ PMS เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณจุดกดเจ็บ และเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่องเลเซอร์ เครื่อง Shockwave หรือเครื่องอัลตราซาวด์ ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละท่าน) หรือการนวดกดจุดสัญญาณตามแนวกล้ามเนื้อ/จุดสัญญาณต่างๆ โดยแพทย์แผนไทย และการฝังเข็มสลายปมจุดปวด+ครอบแก้ว เพื่อปรับสมดุลในร่างกายให้เลือดลมไหลเวียนดียิ่งขึ้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  and  นโยบายคุกกี้